วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

File word เป็น PDF ครับ

http://file.thaiza.com/download.php?id=5411bf9f378863c528f81b54d311ca45

http://file.thaiza.com/delete.php?id=8aa1a10cab8f7f9402bc7ed7ce929ccb

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอน Effects



เราสามารถปรับตามที่เราต้องการได้ มันจะเป็นการเพิ่มขอบให้กับภาพ ถ้าเราปรับ 
Amount มาด้านซ้ายจะมีขอบที่เป็นสีดำ ปรับทางขวาก็จะเป็นขอบสีขาว ส่วนพวกที่เหลือ
ก็จะเป็นการปรับว่าต้องการขอบแบบไหน เราสามารถที่จะมาปรับเปลี่ยนก็ได้แล้วแต่
ความต้องการ 




ขั้นตอน Detail





Detail 

Sharpening - ใช้เพิ่มความคมชัดของภาพ

Noise Reduction - ใช้ลด Noise ที่เกิดขึ้นในภาพ โดยมี 2 แบบ คือ Luminance และ Color

1.) Luminance คือ Noise ที่เกิดจาก grain ของภาพ มีลักษณะเป็นจุดๆ มักจะเกิดกับภาพที่ขยาย
เกินกว่าต้นฉบับที่ถ่ายมา หรือภาพที่ถ่ายโดยใช้ ISO สูง การลด Noise ตรงนี้จะทำให้ความ
คมชัดของภาพหายไป

2.) Color คือ Noise ที่มีลักษณะเป็นจุดสีเด่นขึ้นในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงและน้ำเงิน
 มักเกิดเวลาปรับภาพให้คมขึ้นมากๆ การลด Noise ตรงนี้ บางครั้งจะทำให้สีของภาพเพี๊ยนไป 

ขั้นตอน Split Toning




Split Toning 


เครื่องมือช่วยปรับสีส่วนที่เป็น Highlight และ Shadow ของภาพ ซึ่งแทนที่ภาพในส่วนนั้นจะแสดงออกมาเป็นสีขาว ( Highlight ) หรือ ดำ (Shadow) เครื่องมือตัวนี้จะช่วยใส่สีสันเข้าไปในส่วนที่ไม่มีรายละเอียดของภาพ (Highlight และ Shadow) โดยเลือกที่ Hue เพื่อเลือกสีที่จะใส่เข้าไป และเลือก Saturation เพื่อปรับความเข้มของสีที่ใส่เข้าไป ( หากใส่มากเกินไป จะมีผลกระทบกับรายละเอียดหลักของภาพ

เราสามารถเลือกปรับว่าจะให้ Highlight และ Shadow ที่ปรับมีผลกับภาพมากน้อยเพียงใดได้ที่ สไลเดอร์ Balance โดยที่ -100 มีผลกับ Shadows อย่างมาก และ + 100 มีผลกับ Highlight อย่างมาก 

ขั้นตอน Tone curve




Tone Curve


แกน X แสดงความสว่างของภาพ ไล่จากด้านซ้ายไปด้านขวา คือจากมืดไปสว่าง แกน Y
แสดงปริมาณของแสงในแต่ละค่าแกน X ว่ามีมากน้อยเพียงไรในภาพ

พื้นที่ของ Curve จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยแบ่งจาก ตาราง 4x4 ใน Curve ได้แก่
1. Highlights สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 4 ของแกน x
2. Lights สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 3 ของแกน x
3. Dark สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 2 ของแกน x
4. Shadows สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 1 ของแกน x

เราสามารถปรับขอบเขตของการปรับ Curve ขึ้นลง ได้โดยเลื่อนสไลเดอร์รูปหยดน้ำ
 3 หยด ด้านล่าง Curve
ในเบื้องต้นของการปรับ Curve แนะนำให้ใช้ Slider ด้านล่าง แทนที่จะปรับที่ตัว Curve
 โดยตรงซึ่งหลักโดยทั่วไป คือ

1. เพิ่ม Lights เพื่อทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพสว่างขึ้น
2. ลด Highlights เพื่อให้พื้นที่ขาวสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย
3. เพิ่ม Shadows เพื่อให้พื้นที่ดำสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย
4. ลด Dark เล็กน้อย เพื่อคงรายละเอียดส่วนดำของภาพไว้ ไม่ให้ขาวตาม Lights ที่เพิ่มขึ้น
 ทำให้ภาพมีความเปรียบต่างของสี

เรายังสามารถปรับค่าความโค้งของ Curve เพื่อให้เกิด Contrast มากขึ้นหรือน้อยลงได้ที่
 Point Curve ได้แก่
1. Linear
2. Medium Contrast
3. Strong Contrast
* ในแต่ละภาพ สามารถปรับแก้ได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพต้นฉบับและวัตถุประสงค์ของการนำเสนอภาพไม่จำเป็นต้องทำตาม 4 ขั้นตอนข้างต้นเสมอไป ใช้หลักให้สายตามองเห็นว่าสวยก็พอ 

ขั้นตอน TSL/Color/BW

สำหรับท่านที่มีเวลาต่อภาพค่อนข้างสูงและต้องการจะปรับสีให้แม่นยำ
แบบแอดวานซ์หน่อย ก็เลื่อนแถบเครื่องมือด้านขวาลงมาเรื่อยๆครับ
 จะเห็นกล่อง TSL/Color/BWอันนี้ไว้สำหรับปรับแต่งแต่ละเฉดสีเลยครับ
 (ถ้าคลิ้กที่ BW ก็จะเป็นการปรับภาพขาวดำขั้นสูง)




ขั้นตอน Histogramme

โดยปกติแล้ว ผมจะถ่ายภาพติดมืดมาค่อนข้างมาก (underexposed) เพราะมือผม
ไม่ค่อยนิ่ง กล้องก็หนัก เลยตั้งค่า speed shutter ให้มันเร็วๆ ขณะที่ ISO ต่ำๆ
แล้วดันเผลอลืมตั้งค่าชดเชยแสง เพราะงั้น วิธีแก้ของผมคือตั้งถ่ายเป็น RAW
แล้วมาปรับดึงเอารายละเอียดคืนมาด้วย Highlights/Shadows ครับ อาจจะ
เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็พอกล้อมแกล้มได้บ้าง


TIPS 2: วิธีการปรับดึงค่าทั้งหมดข้างต้นให้ได้ผล ผมแนะนำให้ดูที่กล่อง Histogram ครับ
 ว่าภาพของเรามีการกระจายตัวของรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่สมดุลย์หรือยัง ภาพที่ดีคือมี
Exposure ที่ครอบคลุมทั้งหมดทั้งส่วนสีดำ, ส่วนเงา, ส่วน exposure, highlight และส่วนสีขาว





ลองดูภาพทางซ้ายครับ เชสกี้ครุมลอฟมันดูมืดไปหน่อย (เพราะวันนั้นมีเมฆมาก) ตรงกล่อง
Histogram ก็จะเห็นว่ากราฟมันกระจุกตัวไปทางซ้ายซะมาก บริเวณ Highlights กับ Whites
 แทบจะไม่มีเลย ส่วนภาพทางขวา หลังจากปรับตั้งค่าพวกนี้ใหม่ กราฟก็ดูสมดุลย์ขึ้นครับ
 ภาพที่ได้ก็ดูสว่างขึ้นด้วย ขณะที่รายละเอียดต่างๆ ก็ยังอยู่ หลังจากนี้ เราก็สามารถแต่ง
อีกนิดหน่อย ภาพก็จะสมบูรณ์พร้อมใช้งานแล้วครับ



การปรับย่อ หมุนรูป ปรับแก้โปรไฟล์เลนส์ (lens correction)

ข้อผิดพลาดสำหรับช่างถ่ายภาพมือสมัครเล่นอย่างเราๆ ก็คือตอนกดชัตเตอร์นั้น
ภาพไม่ได้ระดับ อาจจะเอียงบ้าง มีส่วนเกินติดมาบ้าง สารพัดครับ
ใน LR การปรับย่อ
หรือหมุนภาพนั้น ทำได้ง่ายมากๆครับ และผมแนะนำให้เป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรทำเลยกับทุกรูป
ที่จะรีทัช 
เพราะภาพภาพหนึ่งจะสื่อเรื่องราวได้ดี การจัดเฟรมภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
อันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้
ระหว่างที่ทำการปรับหมุน ก็คิดตามไปด้วยครับ ว่าเราจะเน้น
อะไรในภาพให้เป็นจุดเด่น จุดรอง นอกจากดูแค่ว่ามันตรง เบี้ยว เอียงเพียงอย่างเดียว



วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอน Basic .


1. ขั้นตอนของ Basic โดยการ Import ภาพที่จะแต่งเข้าไป ปรับแต่งแสง สี ตามความต้องการ



2.  ใช้เครื่องมือ Graduated  Filted เปิดในด้านที่อับแสงให้มีความสว่างขึ้น


3.  ปรับแต่งในหน้าต่างของ Graduated  Filted  ให้มีความสว่างตามความพอใจ


4.  คลิ๊กที่เครื่องมือ Adjustment Brush จะมีหน้าต่างเมนูเลื่อนลงมา สังเกตที่เม้าส์
จะเปลี่ยนเป็น หัวแปรงกลมๆแทน เราสามารถย่อ-ขยายหัวแปรงให้เล็กใหญ่ได้ตามต้องการ


5.  คลิ๊กเม้าส์ระบายแสงลงไปในบริเวณที่ต้องการ ถ้ามัมเกินออกมาก็คลิ็๊กที่ Erese
 เพื่อลบแสงไม่เกินมาออก


6.  ปรับแต่งความสว่างจนพอใจ จะเห็นว่าบริเวณที่ระบายจะสว่างขึ้นแล้ว


7.  7.ต่อไปเราจะมาใส่ขอบดำๆฟุ้งๆให้ภาพของเราดูเด่นขึ้น ไปที่Tool ที่เมนู Vignettes
ในส่วนของเมนู Lens Correttes ตั้งค่า Amount ถ้า - จะทำให้ขอบมืดลง ถ้า + จะทำให้
ขอบสว่างขึ้น Midpoint ใช้ปรับความฟุ้งของขอบดำ


8. เสร็จเรียบร้อยเราก็จะได้ภาพที่เราตกแต่งตามความต้องการของเราที่พอใจออกมา