วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

File word เป็น PDF ครับ

http://file.thaiza.com/download.php?id=5411bf9f378863c528f81b54d311ca45

http://file.thaiza.com/delete.php?id=8aa1a10cab8f7f9402bc7ed7ce929ccb

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอน Effects



เราสามารถปรับตามที่เราต้องการได้ มันจะเป็นการเพิ่มขอบให้กับภาพ ถ้าเราปรับ 
Amount มาด้านซ้ายจะมีขอบที่เป็นสีดำ ปรับทางขวาก็จะเป็นขอบสีขาว ส่วนพวกที่เหลือ
ก็จะเป็นการปรับว่าต้องการขอบแบบไหน เราสามารถที่จะมาปรับเปลี่ยนก็ได้แล้วแต่
ความต้องการ 




ขั้นตอน Detail





Detail 

Sharpening - ใช้เพิ่มความคมชัดของภาพ

Noise Reduction - ใช้ลด Noise ที่เกิดขึ้นในภาพ โดยมี 2 แบบ คือ Luminance และ Color

1.) Luminance คือ Noise ที่เกิดจาก grain ของภาพ มีลักษณะเป็นจุดๆ มักจะเกิดกับภาพที่ขยาย
เกินกว่าต้นฉบับที่ถ่ายมา หรือภาพที่ถ่ายโดยใช้ ISO สูง การลด Noise ตรงนี้จะทำให้ความ
คมชัดของภาพหายไป

2.) Color คือ Noise ที่มีลักษณะเป็นจุดสีเด่นขึ้นในภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดงและน้ำเงิน
 มักเกิดเวลาปรับภาพให้คมขึ้นมากๆ การลด Noise ตรงนี้ บางครั้งจะทำให้สีของภาพเพี๊ยนไป 

ขั้นตอน Split Toning




Split Toning 


เครื่องมือช่วยปรับสีส่วนที่เป็น Highlight และ Shadow ของภาพ ซึ่งแทนที่ภาพในส่วนนั้นจะแสดงออกมาเป็นสีขาว ( Highlight ) หรือ ดำ (Shadow) เครื่องมือตัวนี้จะช่วยใส่สีสันเข้าไปในส่วนที่ไม่มีรายละเอียดของภาพ (Highlight และ Shadow) โดยเลือกที่ Hue เพื่อเลือกสีที่จะใส่เข้าไป และเลือก Saturation เพื่อปรับความเข้มของสีที่ใส่เข้าไป ( หากใส่มากเกินไป จะมีผลกระทบกับรายละเอียดหลักของภาพ

เราสามารถเลือกปรับว่าจะให้ Highlight และ Shadow ที่ปรับมีผลกับภาพมากน้อยเพียงใดได้ที่ สไลเดอร์ Balance โดยที่ -100 มีผลกับ Shadows อย่างมาก และ + 100 มีผลกับ Highlight อย่างมาก 

ขั้นตอน Tone curve




Tone Curve


แกน X แสดงความสว่างของภาพ ไล่จากด้านซ้ายไปด้านขวา คือจากมืดไปสว่าง แกน Y
แสดงปริมาณของแสงในแต่ละค่าแกน X ว่ามีมากน้อยเพียงไรในภาพ

พื้นที่ของ Curve จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยแบ่งจาก ตาราง 4x4 ใน Curve ได้แก่
1. Highlights สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 4 ของแกน x
2. Lights สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 3 ของแกน x
3. Dark สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 2 ของแกน x
4. Shadows สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ 1 ของแกน x

เราสามารถปรับขอบเขตของการปรับ Curve ขึ้นลง ได้โดยเลื่อนสไลเดอร์รูปหยดน้ำ
 3 หยด ด้านล่าง Curve
ในเบื้องต้นของการปรับ Curve แนะนำให้ใช้ Slider ด้านล่าง แทนที่จะปรับที่ตัว Curve
 โดยตรงซึ่งหลักโดยทั่วไป คือ

1. เพิ่ม Lights เพื่อทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพสว่างขึ้น
2. ลด Highlights เพื่อให้พื้นที่ขาวสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย
3. เพิ่ม Shadows เพื่อให้พื้นที่ดำสุดของภาพ มีรายละเอียดขึ้นเล็กน้อย
4. ลด Dark เล็กน้อย เพื่อคงรายละเอียดส่วนดำของภาพไว้ ไม่ให้ขาวตาม Lights ที่เพิ่มขึ้น
 ทำให้ภาพมีความเปรียบต่างของสี

เรายังสามารถปรับค่าความโค้งของ Curve เพื่อให้เกิด Contrast มากขึ้นหรือน้อยลงได้ที่
 Point Curve ได้แก่
1. Linear
2. Medium Contrast
3. Strong Contrast
* ในแต่ละภาพ สามารถปรับแก้ได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพต้นฉบับและวัตถุประสงค์ของการนำเสนอภาพไม่จำเป็นต้องทำตาม 4 ขั้นตอนข้างต้นเสมอไป ใช้หลักให้สายตามองเห็นว่าสวยก็พอ 

ขั้นตอน TSL/Color/BW

สำหรับท่านที่มีเวลาต่อภาพค่อนข้างสูงและต้องการจะปรับสีให้แม่นยำ
แบบแอดวานซ์หน่อย ก็เลื่อนแถบเครื่องมือด้านขวาลงมาเรื่อยๆครับ
 จะเห็นกล่อง TSL/Color/BWอันนี้ไว้สำหรับปรับแต่งแต่ละเฉดสีเลยครับ
 (ถ้าคลิ้กที่ BW ก็จะเป็นการปรับภาพขาวดำขั้นสูง)




ขั้นตอน Histogramme

โดยปกติแล้ว ผมจะถ่ายภาพติดมืดมาค่อนข้างมาก (underexposed) เพราะมือผม
ไม่ค่อยนิ่ง กล้องก็หนัก เลยตั้งค่า speed shutter ให้มันเร็วๆ ขณะที่ ISO ต่ำๆ
แล้วดันเผลอลืมตั้งค่าชดเชยแสง เพราะงั้น วิธีแก้ของผมคือตั้งถ่ายเป็น RAW
แล้วมาปรับดึงเอารายละเอียดคืนมาด้วย Highlights/Shadows ครับ อาจจะ
เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีนัก แต่ก็พอกล้อมแกล้มได้บ้าง


TIPS 2: วิธีการปรับดึงค่าทั้งหมดข้างต้นให้ได้ผล ผมแนะนำให้ดูที่กล่อง Histogram ครับ
 ว่าภาพของเรามีการกระจายตัวของรายละเอียดส่วนต่างๆ ที่สมดุลย์หรือยัง ภาพที่ดีคือมี
Exposure ที่ครอบคลุมทั้งหมดทั้งส่วนสีดำ, ส่วนเงา, ส่วน exposure, highlight และส่วนสีขาว





ลองดูภาพทางซ้ายครับ เชสกี้ครุมลอฟมันดูมืดไปหน่อย (เพราะวันนั้นมีเมฆมาก) ตรงกล่อง
Histogram ก็จะเห็นว่ากราฟมันกระจุกตัวไปทางซ้ายซะมาก บริเวณ Highlights กับ Whites
 แทบจะไม่มีเลย ส่วนภาพทางขวา หลังจากปรับตั้งค่าพวกนี้ใหม่ กราฟก็ดูสมดุลย์ขึ้นครับ
 ภาพที่ได้ก็ดูสว่างขึ้นด้วย ขณะที่รายละเอียดต่างๆ ก็ยังอยู่ หลังจากนี้ เราก็สามารถแต่ง
อีกนิดหน่อย ภาพก็จะสมบูรณ์พร้อมใช้งานแล้วครับ



การปรับย่อ หมุนรูป ปรับแก้โปรไฟล์เลนส์ (lens correction)

ข้อผิดพลาดสำหรับช่างถ่ายภาพมือสมัครเล่นอย่างเราๆ ก็คือตอนกดชัตเตอร์นั้น
ภาพไม่ได้ระดับ อาจจะเอียงบ้าง มีส่วนเกินติดมาบ้าง สารพัดครับ
ใน LR การปรับย่อ
หรือหมุนภาพนั้น ทำได้ง่ายมากๆครับ และผมแนะนำให้เป็นสิ่งแรกๆ ที่ควรทำเลยกับทุกรูป
ที่จะรีทัช 
เพราะภาพภาพหนึ่งจะสื่อเรื่องราวได้ดี การจัดเฟรมภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
อันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้
ระหว่างที่ทำการปรับหมุน ก็คิดตามไปด้วยครับ ว่าเราจะเน้น
อะไรในภาพให้เป็นจุดเด่น จุดรอง นอกจากดูแค่ว่ามันตรง เบี้ยว เอียงเพียงอย่างเดียว



วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ขั้นตอน Basic .


1. ขั้นตอนของ Basic โดยการ Import ภาพที่จะแต่งเข้าไป ปรับแต่งแสง สี ตามความต้องการ



2.  ใช้เครื่องมือ Graduated  Filted เปิดในด้านที่อับแสงให้มีความสว่างขึ้น


3.  ปรับแต่งในหน้าต่างของ Graduated  Filted  ให้มีความสว่างตามความพอใจ


4.  คลิ๊กที่เครื่องมือ Adjustment Brush จะมีหน้าต่างเมนูเลื่อนลงมา สังเกตที่เม้าส์
จะเปลี่ยนเป็น หัวแปรงกลมๆแทน เราสามารถย่อ-ขยายหัวแปรงให้เล็กใหญ่ได้ตามต้องการ


5.  คลิ๊กเม้าส์ระบายแสงลงไปในบริเวณที่ต้องการ ถ้ามัมเกินออกมาก็คลิ็๊กที่ Erese
 เพื่อลบแสงไม่เกินมาออก


6.  ปรับแต่งความสว่างจนพอใจ จะเห็นว่าบริเวณที่ระบายจะสว่างขึ้นแล้ว


7.  7.ต่อไปเราจะมาใส่ขอบดำๆฟุ้งๆให้ภาพของเราดูเด่นขึ้น ไปที่Tool ที่เมนู Vignettes
ในส่วนของเมนู Lens Correttes ตั้งค่า Amount ถ้า - จะทำให้ขอบมืดลง ถ้า + จะทำให้
ขอบสว่างขึ้น Midpoint ใช้ปรับความฟุ้งของขอบดำ


8. เสร็จเรียบร้อยเราก็จะได้ภาพที่เราตกแต่งตามความต้องการของเราที่พอใจออกมา








วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

แนะนำการใช้ Lightroom ปรับแต่งภาพเบื้องต้น

   เพื่อน ๆ หลายท่านอยากทดลองใช้โปรแกรม Lightroom แต่ใช้ไม่เป็น
 ผมก็ไม่ได้เก่งจากที่ไหนนะครับ  แค่พอได้เล่นมาบ้างวันนี้ขอมาแนะนำ
การใช้งานเพื่อปรับแต่งภาพเบื้องต้นก่อนครับ ......

   
 โปรแกรม Lightroom เป็นโปรแกรมช่วยปรับแต่งและแก้ไขภาพที่ง่าย
และสะดวกในการใช้มากครับ เราสามารถ save การปรับแต่งไว้ใช้ได้ด้วย  

  
 เริ่มเปิดโปรแกรมขึ้นมาเลยครับ จะไม่พูดถึงการ install โปรแกรมนะครับ
 ขั้นตอนนี้ ท่านต้องมีโปรแกรมอยู่ในคอมฯแล้ว


หน้าตาโปรแกรม Lightroom


เข้าโปรแกรมเรียบร้อยจะมาอยู่ที่หน้านี้ ท่านที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนหน้านี้ 
จะว่างไม่มีภาพเหมือนในรูปนะครับ เริ่มต้นเอาภาพเข้ามาก่อน จะเอามาที่ละภาพหรือ
เอามาทั้งโฟลเดอร์เลยก็ได้ ในที่นี้ขอแนะนำการเอาเข้ามาทั้งโฟลเดอร์เลยครับคลิ๊กที่ + ตามในภาพครับ




















 จะมีหน้าต่างขึ้นมาเลือกคลิ๊กที่ Add Folder ครับ ตามในภาพ




















 เลือกโฟลเดอร์ในคอมฯ ที่เก็บภาพของท่าน แล้วกด Select Folder ตามในภาพ
จากนั้นก็เลือก Check All เลือกภาพทั้งหมดแล้วกด Import ครับ



















โปรแกรมจะโหลดภาพทั้งหมดมาไว้ใน Library ครับ รอให้ภาพโหลดมาครบก่อน
แล้วเริ่มเข้าไปยังหน้า Develop เพื่อปรับแต่ง คลิ๊กตามในภาพครับ
แล้วเราเลือกภาพที่จะปรับแต่งจากบาร์ด้านล่าง คลิ๊กภาพที่ต้องการได้เลยครับ




















ในหน้า Develop นี้มีเมนูสำหรับปรับแต่งภาพไว้ให้มากมาย ซึ้งผมจะขอแนะนำ
เครื่องมือพื้นฐานก่อนนะครับ
 ชุดปรับแก้ White Balance เพื่อแก้ไขสีของภาพ
ที่มันไม่ถูกต้อง เช่น 
ภาพออกเหลืองหรือแดงมากเกินไป สาเหตุมาจากกล้องที่
คำนวณอุณหภูมิสีผิดพลาด

เราแก้ได้จากตรงนี้ครับ
--Temp ปรับอุณหภูมิสี
--Tint ปรับสี
ชุดต่อมาเป็นชุดปรับแสงในแบบต่าง ๆ ของภาพ
--Exposure ระดับความสว่าง
--Contrast ความเปรียบต่างของภาพ
--Highlights ปรับไฮไลท์ หรือแสงสะท้อน
--Whites ปรับสีขาว
--Black ปรับสีดำ
  ต่อมาเป็นชุดปรับรายละเอียดและความสดของภาพ
--Clarity ปรับความชัดเจน
--Vibrance ปรับความสดของสี
--Saturation ปรับความอิ่มตัวของสี

ข้อความในภาพ
1. จะมี Temp , Tint  
White balance จะแสดงค่าตาม
ภาพขณะถ่าย ปรับเพิ่มได้
2. 
เครื่องมือปรับจะอยู่กึ่งกลาง
3. 
ภาพที่เลือก



















เมื่อปรับความสว่างได้พอดีแล้ว ลองมาปรับภาพให้เห็นรายละเอียดเพิ่มขึ้น
 และเพิ่มความสดของสีเข้าไปด้วย ชุดนี้ไม่มี auto ครับ ลองปรับเองทีละน้อย
ดูการเปลี่ยนแปลงก่อนครับ  เบื้องต้นขอแนะนำการปรับภาพเพียงแค่นี้ก่อนครับ



















 ต่อมาเป็นการปรับแก้ภาพที่เอียงและการตัดภาพ คลิ๊กตามรูป



















ภาพนี้เป็นการ Crop หรือตัดภาพตามอัตราส่วนของภาพเดิม แล้วกด Done



















การปรับแต่งภาพผมขอแนะนำขั้น Basic ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ลองเล่นกันดู
   มาถึงเรื่องการการนำภาพออกไปใช้ครับ คลิ๊กกลับมาที่ Library ก่อน แล้วเลือกภาพ
ที่แต่งแล้ว จะภาพเดียวหรือทั้งหมดก็ได้ แล้วคลิ๊กเมนู File เลือก Export...



















จากนั้นให้เลือก Folder ที่ต้องการ แล้วกด Export


วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2558

6. การถ่ายภาพไฟกลางคืน และ การถ่ายภาพภูมิทัศน์

การถ่ายภาพไฟกลางคืน (Night Picture) ที่สวยงาม จะได้ภาพที่แปลกตา
อุปกรณ์ที่ต้องใช้

- กล้องถ่ายภาพพร้อมฟิล์ม- ขาตั้งกล้องพร้อมสายลั่นชัตเตอร์- อื่น ๆ เช่น ไฟฉาย ผ้าดำ

วิธีการถ่ายภาพ

- ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
- ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
- คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง
 (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)

- ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ 10 -60
วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้



   การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ
 และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด และควรฝึกหัดเป็นประจำ
เพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้
การถ่ายภาพแสงไฟเวลากลางคืน ถ้าลองปรับรูรับแสงให้เล็กลง จะทำให้แสงไฟกลาง
เป็นแฉกๆ สวยมาก ลองหัดถ่ายกันดู



การถ่ายภาพภูมิทัศน์ (Landscape) นิยมถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เพื่อให้เห็นพื้นที่
ในบริเวณกว้าง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ โดยปกติใช้เลนส์มาตรฐานก็ได้เช่นกัน
 การถ่ายภาพลักษณะนี้ ควรใช้รูรับแสงที่แคบเพื่อให้เกิดระยะชัดมากที่สุด ควรคำนึงถึง
 ฉากหน้า และฉากหลังของภาพ และการวางจุดสนใจ (ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในเรื่อง
ของการจัดองค์ประกอบภาพ) หรืออาจใช้อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ฟิลเตอร์โพราไรซ์
เพื่อให้สีของภาพอิ่มตัวขึ้น ท้องฟ้าเข้มขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจ

5. การถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์สูง /ชัตเตอร์ต่ำ


การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง (Stop action) 

จะถ่ายเพื่อให้ภาพที่เคลื่อนไหวดูหยุดนิ่ง โดยใช้ตั้งแต่ 1/250 วินาทีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเร็ว
ในการเคลื่อนที่ผ่านหน้าเลนส์ของวัตถุ การถ่ายภาพลักษณะนี้ต้องวางแผนให้ดี ปรับโฟกัส
 และวัดแสงไว้ล่วงหน้า อาศัยการกะระยะ และการตัดสินใจที่ฉับไวในการถ่ายภาพ
 แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพมีความงาม และมีคุณค่า


การใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำ (Panning)

 คือการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเหมือนกับภาพเคลื่อนไหว แต่จะใช้เทคนิคการแพน
หรือการส่ายกล้องตามวัตถุที่เคลื่อนที่ และกดชัตเตอร์ขณะที่ส่ายกล้อง ทำให้วัตถุ
ที่ต้องการเน้นนิ่ง เห็นรายละเอียดมากยิ่งขึ้น แต่ฉากหน้าและฉากหลังที่นิ่งอยู่กับที่ลู่ตามวัตถุ
เป็นที่นิยมมากในการถ่ายภาพกีฬาประเภทต่าง ๆ

4. การถ่ายภาพระยะใกล้

การถ่ายภาพระยะใกล้ (Close up)
เน้นรายละเอียด หรือการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก
สามารถถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์ Close up ซึ่งมีลักษณะเป็นเลนส์ขยาย จำหน่ายเป็นชุด ๆ
ละ 3 อัน สามารถต่อกันได้ แต่ต้องระวังในการถ่ายเพราะ ภาพจะชัดเฉพาะ ตรงกลางภาพ
ส่วนด้านขอบของภาพจะไม่ชัดเพราะความโค้งของเลนส์ ยิ่งใช้ฟิลเตอร์หลายตัวยิ่ง
ลดความคมชัดของภาพลง ถ้าต้องการคุณภาพดี ควรใช้เลนส์มาโคร หรือเลนส์ถ่ายใกล้
จะให้รายละเอียดของภาพมากยิ่งขึ้น การถ่ายภาพต้องระวังอย่าให้สั่นไหวเด็ดขาด
ควรใช้ขาตั้งกล้องและสายลั่นชัตเตอร์เข้าช่วย หรือพยายามใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูง
จะช่วยได้มาก

3. การจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพ

เทคนิคในการจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพจะมี 3 ทิศทาง คือ แสงด้านหน้า
 ด้านข้าง และ ด้านหลัง


แสงด้านหลัง 
   
 โดยทั่วไปแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่นิยมถ่ายภาพย้อนแสง เพราะกลัวแสงเข้ากล้อง
 หน้าดำหรือหน้ามืด จริง ๆ แล้ว การถ่ายภาพย้อนแสง จัดว่าเป็นารถ่ายภาพที่สวยงาม
มีมิติมากที่สุด เพราะสามารถจะเห็นรูปร่าง ของแบบ โดยเฉพาะการถ่ายภาพของบุคคล
จะมี
ความสำคัญมาก
 เพราะสามารถให้เห็น ริมไลท์ของเส้นผม ซึ่งทำให้ภาพดูนิ่มนวล
ส่วนการแก้ปัญหาความเข้ม
หรือความมืดที่ใชหน้า ด้วยการใช้รีแฟกซ์ สะท้อนแสง
ลบเงา หรือตบแฟลชอ่อน ๆ

แสงด้านข้าง 
จัดว่าเป็นหัวใจรอง ในการสร้างภาพที่สวยงามการใช้แสงด้านข้าง ส่วนมากจะเป็น
การเน้น จุดใดจุดหนึ่งหรือเพียงด้านเดียว การใช้แสงด้านข้าง ยังสามารถบอกมิติสัดส่วน
ของรูปร่างได้ แสงด้านข้างที่นิยมใช้ในการบันทึกภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพบุคคล
ในการถ่ายแบบ หรือการถ่ายสถาปัตยกรรมก็ได้

แสงด้านหน้า      
สำหรับผู้ที่ถ่ายภาพแบบมืออาชีพ หรือผู้ที่มีความเข้าใจในการสร้างภาพสวยจะไม่นิยม
ถ่ายบันทึกภาพกัน เพราะจะทำให้ภาพดูแบน ไร้มิติ สีสันในองค์ประกอบจะจืด
เพราะโดนความจ้าของแสงด้านหน้า บดบังทำให้สีหรือใบหน้า ดูจืดชืดไม่สะดุดตา

ดังนั้น การจัดทิศทางแสงในการถ่ายภาพ จึงมีความสำคัญไม่น้อย และจะขาดเสียไม่ได้
 แสงในการถ่ายภาพเราะจนิยมถ่ายในช่วงเวลา เช้า หรือแดดอ่อน ๆ ที่ดวงอาทิตย์ทำมุมประมาณ
 30 - 40 องศา นั่นคือ พื้นฐานในการนำทิศทางแสงมาช่วยปรุงแต่ง เพิ่มเติมความสวยงามในภาพ
เป็นเรื่องที่สำคัญอีกขั้นหนึ่ง

2. การจัดองค์ประกอบ

     การจัดองค์ประกอบจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญหลักและสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ เพราะองค์ประกอบ
 สามารถดึงดูดความสนใจ สามารถชี้แจงบอกเรื่องราวในภาพและเน้นความคัญในสิ่งที่เราสื่อออกมา
 เพราะฉะนั้น การจัดองค์ประกอบได้แบบถูกต้องและลงตัวนั่นคือ การสื่อความหมายโดยที่แทบ
จะไม่ต้องบรรยายเลยก็ว่าได้ การจัดองค์ประกอบ ต้องมีการแบ่งความสมดุลในภาพเว้นระยะ
ไม่ให้เกิดความอึดอัดเวลามองภาพเช่น สายตา การชี้ เหมือนกับการจ้องมองของสัตว์ หรือ
 อาการหวาดกลัวหลบหลีก ที่จะฟ้องให้มองเห็นถึงความน่ากลัว

1. เทคนิคการถ่ายภาพ

" พื้นฐานการถ่ายภาพ "

" ความเร็วชัตเตอร์ ( S,TV ) "

ความเร็วชัตเตอร์
เป็นการกำหนดระยะเวลาในการบันทึกภาพ ซึ่งกลไกของกล้องจะมีแผ่นเลื่อนเปิดปิด
อยู่หน้าฟิล์ม
(หรือแผ่นรับแสง CCD ในกรณีของกล้องดิจิตอล) เรียกว่าชัตเตอร์ สามารถเปิด
และปิดเพื่อเปิด
ให้แสงเข้าไปบันทึกภาพตามระยะเวลาที่เราตั้งความเร็วชัตเตอร์ เราต้องเลือกให้
เหมาะสมกับวัตถุ
ที่ต้องการถ่ายภาพ โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสง เช่น การถ่ายภาพ
จากแหล่งแสงที่มีแสงน้อย
 เช่น แสงเทียน ต้องเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์หลายวินาที
 ส่วนการถ่ายภาพกลางแจ้ง มีแดดจัด
 
ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่า เช่น 1/500 วินาทีเป็นต้น
ปัจจัยอื่นที่สำคัญคือ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น การถ่ายภาพรถยนต์
เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 

ต้องการให้ภาพคมชัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่ทำได้ โดยสัมพันธ์กับขนาด
รูรับแสงที่เลือก 
เช่น ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/4000 วินาที เป็นต้น

" ขนาดรูรับแสง ( A,Av ) "

ขนาดรูรับแสง 

กล้องส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์บังคับให้แสงผ่านเลนส์มากหรือน้อย โดยใช้แผ่นกลีบโลหะ
ซึ่งติดตั้งอยู่ในตัวเลนส์เป็นการกำหนดปริมาณแสงผ่านเลนส์ได้มากหรือน้อย
โดยวิธีเปิดรูเล็กสุดเช่น f/22 และค่อยๆใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเปิดเต็มที่ เช่น f/1.4
 แต่ขนาดเปิดเต็มที่จะขึ้นกับขนาดชิ้นเลนส์ด้วย เลนส์ราคาสูงที่มีเลนส์ชิ้นหน้าขนาดใหญ่
จะรับแสงได้มากกว่า ซึ่งหมายถึงเปิดรูรับแสงเต็มที่ได้กว้างกว่าเช่น f/1.2 สำหรับการถ่ายภาพ
จะเลือกใช้ขนาดรูรับแสงใด โดยทั่วไปจะพิจารณาจากสภาพแสงถ้าแสงมากมักจะใช้ขนาดรูรับ
แสงเล็ก เช่น f/11 ถ้าแสงน้อยมักจะใช้ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่น f/2 เป็นต้น 
ปัจจัยอื่นที่สำคัญ
คือ 
ความชัดลึก

" ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง "

    การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง ต้องมีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ได้ปริมาณ
แสงที่พอเหมาะ
ในการบันทึกภาพ ซึ่งในสภาพแสงเดียวกัน และเลือกค่าความไวแสงเท่ากัน
 สามารถตั้งค่าที่เหมาะสมได้
หลายค่า ตามตัวอย่าง เช่น

ความเร็วชัตเตอร์ขนาดรูรับแสง
1/4000f/1.4
1/2000f/2
1/1000f/2.8
1/500f/4
1/250f/5.6
1/125f/8
1/60f/11
1/30f/16
1/15f/22

" การตั้งความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสง "

การเลือกคู่ที่เหมาะสมตามตัวอย่างในหัวข้อ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วชัตเตอร์กับ
ขนาดรูรับแสง
 ให้พิจารณาได้จากปัจจัยต่างๆดังนี้
1. ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่จะถ่ายวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว แต่เราต้องการภาพชัด ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่
กล้อง
จะทำได้ แต่ถ้าเป็นวัตถุที่อยู่นิ่งนั้น สามารถเลือกความเร็ว
ชัตเตอร์เท่าไรก็ได้

2. ความชัดลึกของวัตถุที่จะถ่าย
ขนาดรูรับแสงเล็ก เช่น f/22 จะให้ความชัดลึกมากกว่าขนาดรูรับแสงกว้าง
 เช่น f/1.4ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญมากในการถ่ายภาพระยะใกล้ หรือใช้เลนส์ถ่ายไกล
ในการถ่ายภาพ
การชดเชยแสง (EV+/-)

" การชดเชยแสง ( EV+ / - ) "

การชดเชยแสง
เป็นการปรับปริมาณแสงในการบันทึกภาพให้แตกต่างไปจากค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสง 
เช่น การถ่ายภาพย้อนแสงนั้น ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสง มักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างมืด
การชดเชยแสง โดยเพิ่มแสงมากกว่าที่วัดแสงได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ การถ่ายภาพ
วัตถุที่อยู่หน้าฉากหลังสีดำ ค่าที่ได้จากเครื่องวัดแสงมักจะได้ค่าที่ทำให้วัตถุค่อนข้างสว่าง
เกินไป การชดเชยแสงทำได้โดยลดแสงให้น้อยกว่าที่วัดแสงได้ เป็นต้น

โดยทั่วไปกล้องมีระบบชดเชยแสงสำเร็จรูป หรือเรียกว่าการปรับ EV อยู่แล้ว โดยตามหลักการ
กล้องจะไปปรับ ความเร็วชัตเตอร์ หรือปรับรูรับแสง เพื่อให้ภาพสว่าง หรือมืดลงกว่าที่วัดแสง 
หรือเราสามารถไปปรับที่ parameter ดังกล่าวได้โดยตรง

" การเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงเพื่อชดเชยแสง "

ในการชดเชยแสงนั้น นิยมปรับเปลี่ยน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งคือความเร็วชัตเตอร์ หรือ
 ขนาดรูรับแสง หลักการชดเชยแสงก็มีเพียงสองทาง คือ เพิ่มแสง หรือลดแสง

การเพิ่มแสง
การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์ คือ การลดความเร็วชัตเตอร์ลง เช่น วัดแสงได้ 1/500 วินาที
 เพิ่มแสง 1 ระดับก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/250 ยึดหลักว่าถ้าชัตเตอร์ปิดช้าลงก็จะต้อง
ได้แสงมากขึ้นแน่นอน หากเพิ่มแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสงก็ต้องเพิ่มขนาดรูรับแสงให้ใหญ่ขึ้น
 เช่น วัดแสงได้ f/4 เพิ่มแสง 1 ระดับก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/2.8

การลดแสง
การปรับที่ความเร็วชัตเตอร์ คือ การเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ เช่น วัดแสงได้ 1/500 วินาที
 ลดแสง 1 ระดับ ก็ต้องตั้งความเร็วชัตเตอร์เป็น 1/1000 คือให้ชัตเตอร์ปิดเร็วขึ้นเท่าตัว
นั่นเอง หากลดแสงโดยปรับที่ขนาดรูรับแสง ก็ต้องลดขนาดรูรับแสงให้เล็กลง เช่น
 วัดแสงได้ f/4 ลดแสง1 ระดับ ก็ต้องเปลี่ยนเป็น f/5.6

" การเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ "
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุนั้น
 ให้พิจารณาดังนี้
ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุแบ่งทิศทางการเคลื่อนที่เป็น 2 ลักษณะ คือเคลื่อนที่เข้าหา
/ออกห่างกล้อง หรือ เคลื่อนที่ผ่านกล้อง จากซ้ายไปขวาหรือกลับกัน โดยที่การเคลื่อนที่
เข้าหาหรือออกห่างจากกล้องนั้นสามารถ เลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำว่าการเคลื่อนที่ผ่านกล้อง
 เช่น รถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.เท่ากัน ที่เคลื่อนที่เข้าหากล้อง
 อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 แต่ถ้า เคลื่อนที่ผ่านกล้องอาจต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/500

ความเร็วในการเคลื่อนที่ของวัตถุวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รถแข่ง ควรเลือกใช้ความเร็ว
ชัตเตอร์สูงสุดที่กล้องสามารถทำได้

ส่วนคนเดิน สามารถใช้ความเร็วที่น้อยกว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่
ควรเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดเท่าที่สภาพแสงอำนวย

ผลลัพธ์หยุดนิ่งหรือดูแล้วเคลื่อนไหวการสร้างสรรค์ภาพบางแบบ นิยมให้ภาพดูแล้วมีลักษณะเบลอแบบเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้ชมภาพ
มีความรู้สึกว่า มีความเคลื่อนไหวในภาพ อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าปกติได้ เช่น รถแข่ง
อาจใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/15 พร้อมกับเล็งกล้องติดตามรถแข่งไปด้วยขณะที่กดปุ่มชัตเตอร์
หากฝึกให้ดีแล้วจะได้ภาพที่รถแข่งชัดบางส่วน ส่วนฉากหลังจะมีลักษณะเป็นลายทาง
ให้ความรู้สึกถึงความเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว

" ความชัดลึก "
อันนี้เป็นคุณสมบัติเรื่องของเลนส์เป็นหลักเลยครับ ปัจจัยที่มีผลต่อเรื่องนี้คือ
ขนาดรูรับแสง
ขนาดรูรับแสงที่เล็กจะชัดลึกกว่า ขนาดรูรับแสงใหญ่ เช่น ถ้าเราถ่ายภาพระยะใกล้ เช่น
 ถ่ายดอกชบา 1 ดอกแบบเต็มภาพทางด้านหน้า เราจะเห็นว่าเกสรดอกจะอยู่ใกล้กล้องมากที่สุด
 กลีบดอก และก้านดอกจะอยู่ลึก หรือไกลกล้องออกไป หากเราต้องการถ่ายภาพให้ชัดทั้งหมด
ตั้งแต่เกสรดอกจนถึงก้านดอก นี่แหละคือสิ่งที่เราเรียกว่าความชัดลึก ซึ่งต้องใช้รูรับแสงขนาดเล็กไว้
ในทางกลับกันหากเราใช้รูรับแสงใหญ่ จะเรียกว่าชัดตื้น มักใช้ในกรณีที่เราต้องการให้ฉากหลัง
มีความคมชัดน้อยกว่าวัตถุ เพื่อเน้นให้วัตถุเด่นขึ้นมา มักจะพบบ่อยในการถ่ายภาพแฟชั่น
 หรือการถ่ายบุคคลเฉพาะใบหน้า

ขนาดความยาวโฟกัสของเลนส์
เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสน้อย เช่น 28 มิลลิเมตร จะมีความชัดลึกมากกว่าเลนส์ 300 มิลลิเมตร
 ดังนั้นใครที่ต้องการถ่ายภาพให้ชัดลึกก็ต้องเลือกความยาวโฟกัสให้น้อยเข้าไว้ เช่นการถ่าย
ภาพทิวทัศน์ ส่วนงานถ่ายภาพแฟชั่น มักจะใช้ขนาดความยาวโฟกัสมาก ทำให้ฉากเบลอเน้นที่
นางแบบให้เด่นครับ

ระยะห่างระหว่างกล้องถึงวัตถุ
ระยะห่างมากจะชัดลึกกว่า ระยะห่างน้อย เราจะเห็นว่าเวลาเราถ่ายภาพวิว ซึ่งเป็นระยะไกลๆ
ภาพมักจะชัดทั้งภาพ แต่ถ้าเราถ่ายภาพดอกไม้ในระยะใกล้ๆ ภาพมักจะไม่ชัดทั้งภาพ
จะชัดเพียงบางส่วน ตามที่เราตั้งโฟกัสไว้ พอรู้อย่างนี้แล้ว ครั้งต่อไปที่ถ่ายภาพดอกไม้ระยะใกล้
อย่าลืมใช้ขนาดรูรับแสงแคบๆนะครับ ซึ่งกล้องสมัยนี้ สามารถถ่ายได้อยู่แล้วในโหมดที่เรียกว่า Macro(มาโคร)

" การวัดแสงเพื่อการถ่ายภาพ "

เทคนิคการวัดแสงขั้นพื้นฐาน ให้พิจารณาจากปัจจัยสำคัญดังนี้
แหล่งต้นกำเนิดแสง
กล้องปัจจุบันสามารถปรับสมดุลย์สีขาว (White balance) ได้อัตโนมัติ ผู้ใช้กล้อง
ทั่วไปจึงไม่ได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้ แต่แท้จริงแล้วเป็นส่วนสำคัญที่จะได้ภาพที่มีสีสรรถูกต้อง
 เนื่องจากฟิล์มถูกผลิตมาให้เหมาะสมกับอุณหภูมิสีของแสงตามที่ออกแบบมา เช่น แสงอาทิตย์
(Daylight) หรือแสง จากหลอดไส้ หรือแสงจากหลอดนีออน เป็นต้น หากเป็นกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่
 มักจะออกแบบมาให้สามารถ ปรับเปลี่ยนชนิดแหล่งต้นกำเนิดแสงได้ แม้ว่ากล้องจะมีปุ่มปรับ
สมดุลย์สีขาวอัตโนมัติ (Auto White balance) มาแล้วก็ตาม แต่บางครั้งการทำงานของระบบ
อัตโนมัติก็ไม่ถูกต้องนัก ซึ่งเราจะเห็นได้จากจอ LCD  ว่าสีเพี้ยน หากเป็นเช่นนี้เราก็ต้องปรับ
ตั้งแหล่งต้นกำเนิดแสงด้วยตนเอง เช่น แสงอาทิตย์ / แสงอาทิตย์มีเมฆมาก / แสงอาทิตย์ใต้อาคาร
 / แสงจากหลอดไส้ / แสงจากหลอดนีออน / ตั้งสมดุลย์สีขาวเอง (Custom) หากเราลองเปลี่ยน
สมดุลย์สีขาวชนิดต่างๆในกล้องแล้วยังได้สีไม่ตรงตามความเป็นจริง เราต้องใช้วิธีตั้งสมดุลย์สีขาวเอง
ซึ่งวิธีการจะแตกต่างกันไปในกล้องแต่ละยี่ห้อ ซึ่งวิธีการโดยทั่วไปจะต้อง
ใช้กระดาษสีขาวมาวางไว้ภายใต้สภาพแสงขณะนั้น แล้วเลือกตั้งสมดุลย์สีขาวเอง จากนั้น
ส่องกล้องให้เห็นกระดาษสีขาวเต็มจอ กดปุ่ม Set เพื่อให้กล้องอ่านอุณหภูมิสีขณะนั้น กล้องจะปรับ
แก้ให้เราเห็นกระดาษขาวเป็นสีขาวจริงๆ ผ่านจอ LCD เป็นเสร็จพิธี แล้วก็ถ่ายภาพที่มีสีถูกต้อง
ในสภาพแสงนั้นได้ตลอด หากออกจากสภาพแสงนั้นแล้วอย่าลืมเปลี่ยนสมดุลย์สีขาว
หรือตั้งค่าใหม่ด้วยนะครับ

ทิศทางของแสง
การถ่ายภาพแบบพื้นฐานนั้น เราจะเน้นแต่แสงธรรมชาติกับแสงจากแฟลช แบ่งเป็น
  1. แสงส่องวัตถุคือแสงส่องหน้าแบบของเรา ซึ่งแสงจากแฟลชก็เป็นแสงแบบนี้
  2. แสงหลังหรือที่เรียกว่าย้อนแสง
  3. แสงข้าง
  4. แสงบนเช่นตอนเที่ยงวัน

    การวัดแสงควรวัดแสงที่วัตถุเท่านั้นจะได้ค่าการวัดแสงที่ถูกต้องที่สุด ในกรณีแสงข้าง
     ควรวัดแสงเฉลี่ยด้านมืกับด้านสว่าง แต่ถ้าเราต้องการภาพเชิงศิลป์ออกโทนมืดๆหน่อย
    ให้วัดแสงที่ด้านสว่าง กรณีนี้ต้องใช้กล้องที่สามารถปรับวิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุด (Spot)
     จะได้ไม่ต้องเข้าใกล้ขนาดจ่อหน้านางแบบมาก ขอเสริมเทคนิคให้สำหรับกล้องที่
    ไม่สามารถปรับวิธีวัดแสงแบบเฉพาะจุดได้ ให้ใช้วิธีวัดแสงกับมือของตากล้องนี่แหละครับ
     ดูแปลกๆหน่อยแต่ก็ช่วยให้วัดแสงได้แม่นยำขึ้นนะครับ โดยหลักการแล้ว
    กล้องแบบนี้จะวัดแสงเฉลี่ย ดังนั้นช่างภาพยกมือเราขึ้นมาทำให้แสงที่ตกบนมือ
    เราเหมือนกับที่หน้านางแบบ เช่น แสงข้าง ก็ต้องกำมือปรับมุมข้อมือให้แสงตกบนหลัง
    มือเราเหมือนแสงที่หน้านางแบบ แล้วเอากล้องจ่อที่มือเราแล้ววัดแสง เราอาจเน้นด้านสว่าง
     ก็จ่อกล้องที่ด้านสว่าง หรือเน้นที่ด้านมืด ก็จ่อกล้องที่ด้านมืด แต่ถ้ากล้องของเราทำการ
    ตั้งระยะชัดพร้อมกับวัดแสงด้วย แบบนี้ใช้ไม่ได้นะครับ เพราะระยะชัดไม่ถูกต้องครับ
     ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ยังไม่หมดหนทางครับ แต่เราต้องเตรียมกระดาษสีเทาใบใหญ่กว่า A4 ก็ดีครับ
    ให้นางแบบถือไว้โดยปรับมุมของกระดาษสีเทานี้แสงตกกระทบในมุมเดียวกับหน้านางแบบ
     แล้ววัดแสงที่กระดาษสีเทาก็ได้จะได้ค่าแสงที่เหมาะสมครับ

ความเปรียบต่างของแสงส่องวัตถุกับแสงหลังเช่นกรณีการถ่ายย้อนแสงโดยที่นางแบบอยู่ในร่มเงา
 ฉากหลังเป็นหาดทรายสีขาว แบบนี้ถ้าวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ ผลลัพธ์ก็จะออกมามืดไป
 เพราะเครื่องวัดแสงของกล้องจะโดนหลอกจากแสงหลังที่มาจากหาดทรายว่าแสงมาก
จึงให้ค่าการวัดแสงที่ต่ำเกินไปคือถ่ายออกมาแล้วมืดไป เราต้องใช้วิธีวัดแสงเฉพาะจุดที่หน้านางแบบ
 แต่วิธีนี้ก็ให้ผลเสียคือ ฉากหลังจะขาวเกินไป จนอาจมองไม่ออกเลยว่าถ่ายที่ไหน
 วิธีนี้แนะนำให้เปิดแฟลชเพื่อลบเงาที่หน้านางแบบ แฟลชที่ติดมากับกล้องจะได้ผลน้อย
 แต่ก็ดีกว่าไม่เปิด ท่านที่มีแฟลชเสริมขอให้หยิบมาใช้เลยครับ
 ภาพแจ่มทั้งนางแบบและฉากหลังเลยครับ การวัดแสงมีเรื่องให้กล่าวถึงมากมายครับ
 ขอให้ติดตามต่อในเรื่องของการถ่ายภาพแบบพิเศษ แล้วจะพูดถึงต่อไปครับ